วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์



ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ย่อ: ป.พ.พ.) เป็นประมวลกฎหมายแพ่ง อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ (อังกฤษ: substantive law) แห่งประเทศไทย เริ่มร่างครั้งแรกใน ร.ศ. 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาเมื่อปีเดียวกัน เพื่อริเริ่มขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำไว้กับต่างประเทศอันมีผลให้สยามต้องเสียเปรียบในด้านสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเอกราชทางการศาล
การจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยนั้นมี เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค (เยอรมัน: Bürgerliches Gesetzbuch) หรือประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน และ มินโป (ญี่ปุ่น: 民法, Minpō) หรือประมวลกฎหมายแพ่งแห่งญี่ปุ่น เป็นแม่แบบหลัก กับทั้งมีประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Code civil des Français) และ ซีวิลเกเซทซ์บุค (Zivilgesetzbuch) หรือประมวลกฎหมายแพ่งสวิส เป็นแม่แบบรอง ประกอบกับกฎหมายเดิมของสยามเอง กับทั้งกฎหมายของชาติอื่น ๆ และกฎหมายระหว่างประเทศอีกประปราย โดยงานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า เฉพาะการร่างบรรพแรกจากที่วางโครงการไว้ทั้งหมดหกบรรพนั้น ก็กินเวลานานถึงสิบห้าปี ใช้งบประมาณมหาศาล และมีการเปลี่ยนคณะกรรมการร่างถึงสี่ชุด ทุกชุดมีชาวฝรั่งเศสเป็นสมาชิก โดยเฉพาะชุดแรกเป็นชาวฝรั่งเศสทั้งหมด หลังจากนั้นจึงเริ่มทยอยร่างและประกาศใช้บรรพอื่น ๆ จนครบ ทั้งหมดกินเวลากว่าสามสิบปี ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาจนปัจจุบันตามสถานการณ์

หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หลักกฏหมายแพ่งและพาณิชย์


           กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องที่กำหนดนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยได้กำหนดลักษณะต่างๆไว้ คือ สัญญา จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ และละเมิด ลักษณะที่สำคัญมี ๒ เรื่อง คือ นิติกรรมสัญญาและละเมิด ซึ่งจะได้ทำความเข้าใจในรายละเอียดกันต่อไป
นิติกรรมและสัญญา ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ
นิติกรรม คือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ซึ่งสามารถแยกประเภทของนิติกรรมออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
      นิติกรรมฝ่ายเดียว คือ นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายเดียวและมีผลตาม
กฎหมาย เช่นคำมั่นโฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อหรือจะขายการทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง
     นิติกรรมสองฝ่าย คือนิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป เป็นคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันเกิดเป็นนิติกรรมสองฝ่าย ซึ่งเรียกว่า “สัญญา”
ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา มีหลักว่า “บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำสัญญา ยกเว้นบุคคลบางประเภท”
ผู้หย่อนความสามารถในการทำสัญญา ประกอบด้วยบุคคล ๖ ประเภท คือ
     ๑. ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่อายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เว้นแต่บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส มีหลักว่า “ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะคือถูกบอกล้างภายหลังได้” มีข้อยกเว้นที่ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมสัญญาได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมก่อน คือ
    • นิติกรรมสัญญาที่ได้มาซึ่งสิทธิโดยสิ้นเชิงหรือเพื่อให้หลุดพ้นหน้าที่
    • การที่ต้องทำเองเฉพาะตัว
    • กิจกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจำเป็นแก่การเลี้ยงชีพ
     ๒. คนวิกลจริต คือ คนที่สมองพิการหรือจิตใจไม่ปกติ
     ๓. คนไร้ความสามารถที่ศาลมีคำสั่งแล้ว คือคนวิกลจริตที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำนิติกรรมสัญญาให้


สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นในทำนองเดียวกันที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องให้ผู้พิทักษ์ให้ความยินยอมก่อนจึงทำนิติกรรมสัญญาได้
     ๕. ลูกหนี้ที่ศาลคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โดยหลักแล้วลูกหนี้จะกระทำนิติกรรมสัญญาไม่ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีอำนาจในการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ลูกหนี้จะกระทำนิติกรรมสัญญาได้เมื่อกระทำการตามคำสั่งหรือไดัรับความเห็นชอบ ของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้
     ๖. สามีภรรยาตามกฎหมาย โดยหลักแล้วสามีภรรยาต่างมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินทั้งในส่วนที่เป็นสินส่วนตัวและสินสมรสได้ แต่มีข้อยกเว้นที่ ต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่ระบุไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.๑๔๗๖ รวม ๘ ประการ กล่าวคือ
   ? ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่จำนองได้
   ? ก่อตั้งหรือกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
   ? ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน ๓ ปี
   ? ให้กู้ยืมเงิน
   ? ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
   ? ประนีประนอมยอมความ
   ? มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
   ? นำทรัพย์ไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
สามีหรือภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปได้เมื่อได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ ตาม มาตรา ๑๔๖๕ และ ๑๔๖๖ การจัดการทรัพย์สินนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสต้องดำเนินการตาม มาตรา ๑๔๗๖
ความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือด้วย ถ้าการกระทำที่สามีภรรยาจะกระทำนั้นกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ
การจัดการสินสมรสที่ต้องทำร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่ระบุไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.๑๔๗๖ รวม ๘ ประการ นั้นหากทำไปเพียงฝ่ายเดียว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องศาลขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
นิติกรรมสัญญา ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมสัญญาที่ฝ่าฝืนต้องตกเป็นโมฆะ คือเสียเปล่าเหมือนไม่มีนิติกรรมสัญญานั้นเกิดขึ้นเลย เช่น ทำสัญญาขยายอายุความเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้
ที่ว่านิติกรรมสัญญาต้องไม่ขัดต่อกฎหมายนั้น ต้องเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมสัญญานั้นจึงตกเป็นโมฆะ เช่นการตกลงให้ลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจากการบังคับจำนองตาม มาตรา ๗๓๓ ด้วยนั้นยังใช้บังคับได้ เพราะมิใช่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
นิติกรรมสัญญาต้องทำตามแบบ ซึ่งมีกำหนดไว้ทั้งที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ที่ต้องทำเป็นหนังสือ และที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
นิติกรรมสัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มี ๖ ประเภท คือ
   ? การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์พิเศษ ๖ ชนิด ตาม มาตรา ๔๕๖
   ? การแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์พิเศษ ๖ ชนิด ตาม มาตรา ๔๕๖
   ? การให้อสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์พิเศษ ๖ ชนิด ตาม มาตรา ๔๕๖
   ? การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์พิเศษ ๖ ชนิด ตาม มาตรา ๔๕๖
   ? การเช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า ๓ ปี หรือตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า
   ? สัญญาจำนอง
นิติกรรมสัญญา ที่ไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนดังกล่าวตกเป็นโมฆะ เว้นแต่การเช่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง ๓ ปี
นิติกรรมสัญญาต้องทำเป็นหนังสือและที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มี ๗ ประการ คือ
   ? การทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์พิเศษ ๖ ชนิด ตาม มาตรา ๔๕๖ หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ต้อมีการวางประจำ หรือชำระหนี้บางส่วน จึงฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
   ? การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงฟ้องร้องบังคับคดีได้
   ? สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ ถ้าไม่ทำตกเป็นโมฆะ
   ? การกู้ยืมเงินเกินกว่า ๕๐ บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงฟ้องร้องบังคับคดีได้ การใช้เงินคืนก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือเอกสารการกู้ยืมเงินถูกเวนคืน หรือแทงเพิกถอนในเอกสารการกู้
   ? การค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงฟ้องร้องบังคับคดีได้
   ? การใดที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อการนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย เช่น ตัวแทนไปซื้อขายที่ดิน ส่วนการใดที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อการนั้น ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่น ตัวแทนไปกู้ยืมเงิน
   ? สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงฟ้องร้องบังคับคดีได้

กฏหมายแพ่งและพาณิชย์

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์


         กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา             
กฎหมายพาณิชย์  คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น            
         ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก            
เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัดทำเป็นประมวลกฎหมายคนละเล่มกันจึงยังไม่มีความจำเป็นเท่าใดนักในขณะนั้น